วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

ขั้นตอนวิธีการทำ WebQuest


สามารถสรุปแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1.เลือก/กำหนดหัวข้อ
เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ โดยการใช้คำถามดังต่อไปนี้
- สอนอะไร
- ต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติม
- ต้องการให้ทำกิจกรรมร่วมกันอะไรบ้าง
- ต้องการให้ได้ความรู้/แนวความคิดแบบไหน
- มีส่วนยากตรงไหนบ้าง
ไม่ใช่ว่าทุกหัวข้อจะเหมาะสมกับ WebQuest จึงควรวิเคราะห์หัวข้อให้เหมาะสมกับตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้ เมื่อนำมาทำ WebQuest ผู้เรียนจะได้ความรู้ที่ตรงและถูกต้อง เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนในการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี
2. เลือกรูปแบบกิจกรรม WebQuest ที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอน
เมื่อได้หัวข้อที่จะสอนและตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้แล้ว ลำดับต่อไปคือการเลือกใช้รูปแบบกิจกรรมของ WebQuest ที่มีอยู่อย่างหลากหลายให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอน เช่น การเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ การสืบค้น การสำรวจหาข้อมูล การออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน การโน้มน้าวใจ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การวิเคราะห์ การใช้ตรรกะ และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
3. การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาปรับปรุง WebQuest
เครื่องมือในการพัฒนาปรับปรุงมีอยู่อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าต้องการใช้แบบไหน เพราะแต่ละคนกำหนดทักษะและเวลาแตกต่างกัน มี WebQuest template มากมายที่สามารถ Download ได้จากเว็บไซด์ เพียงเปิดไปที่ WebQuest template จากนั้นเลือกเครื่องมือพัฒนาที่ WebQuest Design Patterns และใส่เนื้อหาสาระเข้าไป ตกแต่งให้สวยงาม เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้น
บางคนไม่มีทักษะในการทำ WebQuest ก็สามารถทำ PowerPoint WebQuest ได้ มี 2 วิธีให้เลือกทำคือ
- ใช้ เป็นส่วนหนึ่งของการทำ แต่ละหน้าจะมีข้อมูลองค์ประกอบต่างๆ ของ เช่น บทนำหรือขั้นตอนการทำ ใช้ปุ่มสำหรับเลือกเปลี่ยนหน้าเท่านั้น
- ใช้ เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์ของผู้เรียนในการเรียนแบบ ของตนเอง
4. สร้างรูปแบบการประเมินผล
ขั้นตอนต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ กิจกรรมและการประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมที่จัดให้นั้นจะต้องพัฒนาความรู้และทักษะของผู้เรียน และการประเมินต้องวัดได้ว่าผู้เรียนได้รับอะไรหลังผ่านกระบวนการเรียนรู้นั้นแล้วและอยู่ในระดับใด (อ่าน Rubrics for Web Lesson และ Creation a Rubric for a Given Task บทความเหล่านี้จะช่วยในการออกแบบกิจกรรมและการประเมินผล
5. พัฒนากิจกรรมใน WebQuest
เมื่อได้หัวข้อ มาตรฐานการเรียนรู้ กิจกรรม รูปแบบ และเครื่องมือการวัดผลประเมินผลแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำกิจกรรมใน WebQuest ผู้เรียนต้องได้รับคำสั่งหรือคำชี้แจงที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เพื่อเป็็็็นนษะะะนแนวทางในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สิ่งที่ช่วยในการทำกิจกรรมนี้คือ
- เลือกแหล่งเรียนรู้ก่อน (Pre-Selecting Resources)
- ข้อแนะนำ (Student Guide)
6. รวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน
ขั้นตอนสุดท้ายคือการรวมองค์ประกอบทุกอย่างเข้าด้วยกัน เพิ่มบทนำที่ดึงดูดใจผู้เรียนและบทสรุปที่กระชับและครอบคลุมทุกเนื้อหา อย่าลืมให้ความน่าเชื่อถือและทำเนียบอาจารย์ด้วย เพิ่มลูกเล่นกราฟฟิคที่สวยงาม การสร้างกิจกรรมทุกอย่างจะต้องดูเนื้อหาประกอบและให้เหมาะสมกับผู้เรียนด้วย
เมื่อทำทุกอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วทบทวนทุกอย่างให้ถีถ้วนว่าครบหรือขาดเหลือสิ่งใด โดยใช้หัวข้อต่อไปนี้เป็นแนวทาง
- บทนำ: ต้องดึงดูดความสนใจผู้เรียน ระบุขั้นตอนและให้รายละเอียดโดยรวมอย่างคร่าวๆ ดูองค์ประกอบทุกอย่างโดยรวมว่ามีลูกเล่น สวยงาม และครบถ้วนหรือไม่
- ออกแบบกิจกรรม: กิจกรรมต้องไม่ยากเกินไปและน่าสนใจ เช่น มีรูปแบบคำถามที่หลากหลาย สรุปความ ปัญหาให้แก้ไข การอภิปราย หรือออกแบบชิ้นงาน
- แหล่งข้อมูล มีเนื้อหาสาระอะไรบ้างที่นักเรียนต้องได้ครบในแต่ละกิจกรรม เลือกเนื้อหาจากแหล่งที่เหมาะสม เช่นจากเว็บไซด์ หนังสือ เอกสาร และจากสื่อจริง
- กระบวนการเรียนรู้ ทุกกระบวนการเรียนรู้นำไปสู่การเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบใน WebQuest หรือไม่ ได้กำหนดกระบวนการเรียนรู้อย่างละเอียด เป็นลำดับขั้นตอนหรือไม่
- ข้อเสนอแนะ ผู้เรียนมีข้อเสนอแนะอะไรต่อWebQuest บ้าง ได้ระบุคำชี้แนะแนวทางให้นักเรียนหรือไม่ เช่น Checklist, timeline, concept map, course-effect diagrams, action plan guideline
- การประเมินผล: จะประเมินผู้เรียนอย่างไร
- บทสรุป: บทสรุปของ เป็นอย่างไร บทสรุปได้ทำให้ผู้เรียนจำสิ่งที่ได้เรียนไปหรือไม่
- อื่นๆ: มีสิ่งใดบ้างที่ต้องการให้ดำเนินการต่อไป
7. การประเมินผล
ก่อนเริ่มการใช้งาน ควรมีการทดลองดูว่า WebQuest ที่ทำนั้นมีประสิทธิภาพหรือมีข้อผิดพลาดใดหรือไม่ ดูองค์ประกอบทุกอย่างอย่างระมัดระวัง ลองเปิดใช้ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หรือให้นักเรียนช่วยทดลองการใช้งานแล้วสรุปผล หากพบข้อผิดพลาดก็รีบปรับปรุงแก้ไข แต่ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดีก็เริ่มการใช้งานได้เลย

อ้างอิงจาก http://webquest.sdsu.edu/adapting/adapting_diagram.htm />http://www.eduscapes.com/sessions/travel/create.htm />By Nitaya

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประสบการณ์การเรียนแบบ Online
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร (ICT)ได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาทั่วโลก การเรียนแบบ Online ได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และเปิดโอกาสให้กับการเรียนรู้มากกว่าการเรียนแบบทั่วไป ได้มีการตัวอย่างข้อได้เปรียบของการเรียนแบบนี้อยู่หลายอย่าง โดยจัดให้อยู่ในแนวคิดที่ว่า "การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา" ในปี 2002 รัฐบาลได้วางแผนให้โรงเรียนมัธยมทุกโรงเรียนใช้คอมพิวเตอร์พร้อมติดตั้ง Internet โดยสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นศูนย์เรียนรู้ Internet และ E-learning หรือ On-line Learning เพือยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นการศึกษาระดับสูงทั่วโลกมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลจากเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
คำวิจารณ์ที่พบบ่อยของการเรียนแบบปกติคือ ครูขาดความเอาใจใส่ในห้องเรียน ความเบื่อหน่าย ความรู้ที่ล้าสมัยและความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายแตกต่างกัน งานวิจัยจำนวนมากทีพยายามคิดหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ เช่น Active Learning (การเรียนแบบกระตุ้น) ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนแบบร่วมมือ โดยตั้งความหวังว่าเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนให้การศึกษานี้ดีขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามการเรียนเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่นการเรียนแบบ Online
กุญแจของการเรียนแบบ Online คือ ความไม่ยึดติดกับเวลา (Time-Independence)รูปแบบบทความงานเขียน (Text Format) สื่อคอมพิวเตอร์ บทสนทนาที่หลากหลายความคิด และรูปแบบการของมีส่วนร่วม การเรียนแบบ Online ออกแบบให้อยู่บนโครงสร้างที่ไม่หยุดนิ่งและหลักการที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจึงช่วยให้ผู้รียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการเรียนจนสามารถค้นหาตนเองได้ การเรียนแบบปกตินั้นจะจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่การเรียนแบบนี้จะเปิดกว้างให้แก่ผู้เรียน สรุปแล้วลักษณะการเรียนแบบ Online มุ่งดูที่ผลที่ได้จากกระบวนการเรียนมากกว่าดูที่กระบวนการเรียนการสอนการเรียน Online นั้นได้รับการพัฒนาให้เป็น ห้องเรียนอิเล็คทรอนิค ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนแบบออนไลน์ เป็นการเชื่อมโยงการวางแผนกิจกรรมกับการเรียนการสอนของผู้เรียนโดยใช้อินเตอเน็ต การเรียนนี้ต้องอาศัยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การสืบค้นหาข้อมูลและการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องเวลา ดังนั้น เรื่องออนไลน์จึงมีชั่วโมงบรรยายเพียง 1 ใน 3 แต่การเรียนแบบนี้ต้องวางแผนการเรียน การทำกิจกรรม งานกลุ่ม เพราะต้องมีการอภิปรายร่วมกัน จึงจำเป็นที่ผู้เรียนแบบออนไลน์ต้องมีส่วนร่วมในการทำงานกับเพื่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องติดต่อสื่อสารกันโดยใช้โทรศัพท์ อีเมลล์ อภิปรายในบอร์ด หรือนัดหมายเพื่อพบกัน ในขณะที่การเรียนทั่วๆ ไป เป็นการเรียนแบบบรรยาย ติว ส่งการบ้าน หรือค้นคว้าในห้องสมุด
March 28, 2009 7:56 PM
http://www.stc.arts.chula.ac.th/cyberethics/papers/Full%20paper-Pannee.doc
ทำไมต้องเรียนแบบ online
เมื่อเปรียบเทียบการเรียนแบบปกติกับการเรียนแบบ online การเรียนแบบ online มีข้อได้เปรียบอยู่หลายอย่าง การเรียนตามความพอใจส่วนตัว เรียนเพื่อส่งเสริมอาชีพ หรือเตรียมพร้อมกับการทำงาน ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าเรากำลังเริ่มเข้าหาระบบการเรียน การเรียนแบบ online จึงเป็นที่สนใจของหลายคน เพราะมีความยืดหยุ่นและได้ผลจริง การเรียนแบบ online เหมาะสำหรับทุกคนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการเรียนของแต่ละคน
การเรียนแบบนี้จะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อ
¬ การมีวินัยในตนเองและการกระตุ้นตัวเองอยู่เสมอ ผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์จะได้เปรียบกับการเรียนแบบนี้
- สามารถใช้เทคโนโลยี เช่น PC, e-mail, website เป็นต้น
- มีเวลาในการทำงานปกติ วางแผนการใช้เวลาในการเรียนประมาณ 100 ชั่วโมง วิชาละ 3 เดือน ประมาณ 8
-10 ชั่วโมงในสัปดาห์- สามารถบริหารจัดการได้อย่างอิสระ
- สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน เช่น chat, อภิปราย, ทำการบ้านจะบอกได้อย่างไรว่าหลักสูตรนี้ดี หลักสูตรที่ดีต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ตัวหลักสูตร – ใครคือผู้จัดทำหลักสูตร ผู้จัดทำหลักสูตรมีความรู้ความชำนาญในหลักสูตรหรือไม่
- โครงสร้างหลักสูตร – ชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์ มีอุปกรณ์และภาระงานครบถ้วนในตัวของมันเอง
- ผู้สอน – สอนถูกต้องและมีข้อมูลครบถ้วน ผู้สอนมีประสบการณ์ สามารถให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาและสาขาที่สัมพันธ์กันได้
- ประกาศนียบัตร – ประกาศนียบัตรหรือหน่วยกิตที่เรียนมีความน่าเชื่อถือ สามารถนำไปสมัครงานและเป็นที่ยอมรับของบริษัทต่างๆ
- ตัวอย่าง – การบอกรายละเอียดของหลักสูตรสามารถช่วยในการตัดสินใจสมัครเรียนหลักสูตรนี้ ช่วยในเรื่องการเตรียมความพร้อม จัดการกับเวลาส่วนตัว และจัดการกับผลการเรียนที่จะได้รับจากการเรียนของตนเอง
- ผู้รับรอง – นักเรียนรุ่นก่อนได้พูดถึงหลักสูตรนี้อย่างไรบ้าง จะช่วยให้นักเรียนรุ่นใหม่นำไปปรับใช้ในการเรียนของตนเอง
http//:www.online-learning.com/articles_foryou.html
March 26, 2009 9:53 AM