วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประสบการณ์การเรียนแบบ Online
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร (ICT)ได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาทั่วโลก การเรียนแบบ Online ได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และเปิดโอกาสให้กับการเรียนรู้มากกว่าการเรียนแบบทั่วไป ได้มีการตัวอย่างข้อได้เปรียบของการเรียนแบบนี้อยู่หลายอย่าง โดยจัดให้อยู่ในแนวคิดที่ว่า "การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา" ในปี 2002 รัฐบาลได้วางแผนให้โรงเรียนมัธยมทุกโรงเรียนใช้คอมพิวเตอร์พร้อมติดตั้ง Internet โดยสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นศูนย์เรียนรู้ Internet และ E-learning หรือ On-line Learning เพือยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นการศึกษาระดับสูงทั่วโลกมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลจากเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
คำวิจารณ์ที่พบบ่อยของการเรียนแบบปกติคือ ครูขาดความเอาใจใส่ในห้องเรียน ความเบื่อหน่าย ความรู้ที่ล้าสมัยและความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายแตกต่างกัน งานวิจัยจำนวนมากทีพยายามคิดหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ เช่น Active Learning (การเรียนแบบกระตุ้น) ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนแบบร่วมมือ โดยตั้งความหวังว่าเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนให้การศึกษานี้ดีขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามการเรียนเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่นการเรียนแบบ Online
กุญแจของการเรียนแบบ Online คือ ความไม่ยึดติดกับเวลา (Time-Independence)รูปแบบบทความงานเขียน (Text Format) สื่อคอมพิวเตอร์ บทสนทนาที่หลากหลายความคิด และรูปแบบการของมีส่วนร่วม การเรียนแบบ Online ออกแบบให้อยู่บนโครงสร้างที่ไม่หยุดนิ่งและหลักการที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจึงช่วยให้ผู้รียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการเรียนจนสามารถค้นหาตนเองได้ การเรียนแบบปกตินั้นจะจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่การเรียนแบบนี้จะเปิดกว้างให้แก่ผู้เรียน สรุปแล้วลักษณะการเรียนแบบ Online มุ่งดูที่ผลที่ได้จากกระบวนการเรียนมากกว่าดูที่กระบวนการเรียนการสอนการเรียน Online นั้นได้รับการพัฒนาให้เป็น ห้องเรียนอิเล็คทรอนิค ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนแบบออนไลน์ เป็นการเชื่อมโยงการวางแผนกิจกรรมกับการเรียนการสอนของผู้เรียนโดยใช้อินเตอเน็ต การเรียนนี้ต้องอาศัยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การสืบค้นหาข้อมูลและการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องเวลา ดังนั้น เรื่องออนไลน์จึงมีชั่วโมงบรรยายเพียง 1 ใน 3 แต่การเรียนแบบนี้ต้องวางแผนการเรียน การทำกิจกรรม งานกลุ่ม เพราะต้องมีการอภิปรายร่วมกัน จึงจำเป็นที่ผู้เรียนแบบออนไลน์ต้องมีส่วนร่วมในการทำงานกับเพื่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องติดต่อสื่อสารกันโดยใช้โทรศัพท์ อีเมลล์ อภิปรายในบอร์ด หรือนัดหมายเพื่อพบกัน ในขณะที่การเรียนทั่วๆ ไป เป็นการเรียนแบบบรรยาย ติว ส่งการบ้าน หรือค้นคว้าในห้องสมุด
March 28, 2009 7:56 PM
http://www.stc.arts.chula.ac.th/cyberethics/papers/Full%20paper-Pannee.doc

ไม่มีความคิดเห็น: