วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Concentration

1)Study is nothing else but a procession of mind แปลว่า การเรียนอะไรก็แล้วแต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ใจ ต้องมีจิตใจตั้งมั่นในการเรียนรู้ ใจจะสั่งการให้ตัวทำอย่างนั้นอย่างนี้ โดยเปรียบเหมือนเป็นตัวควบคุมให้สมองสั่งการไปตามกระบวนการของร่างกายต่าง ๆ ให้ปฏิบัติไปตามความคิดความต้องการ โดยสอดคล้องกับเทคนิคการเรียนแบบ M.U.R.D.E.R. ดังนี้
M = Mood หมายถึงอารณ์ จิตใจ ให้ตังจิตตั้งใจมองการเรียนในด้านบวก คิดในด้านดี จะทำให้อยากเรียนรู้ และต้องเลือกสถานที่ เวลาเรียนให้เหมาะสมด้วย
U = Understand s หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ให้บันทึกสิ่งที่ยังไม่รู้หรือว่าไม่เข้าใจเอาไว้ จากนั้นทำการศึกษาเรื่องนั้นเป็นพิเศษไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมหรือการทำแบบฝึกหัดก็ได้
R = Recall หมายถึง สิ่งช่วยจำ หลังจากที่เรียนบทเรียนใดบทเรียนหนึ่งเสร็จแล้วให้แปลงเนื้อหาที่เรียนเป็นถ้อยคำของตนเองเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
D = Digest หมายถึง จำแนก วิเคราะห์ย้อนกลับไปว่าส่วนในของบทเรียนที่ยังไม่เข้าใจจากนั้นทำการศึกษาอีกครั้งหรือสอบถามจากครูผู้สอนในกรณีที่ยังไม่เข้าใจสิ่งนั้นดีพอ
E = Expand หมายถึง ขยายผล ประกอบด้วย 3 คำถามคือ
-หากมีโอกาสพูดกับผู้เขียนเนื้อหานั้น คำถามอะไรบ้างที่ต้องการถามผู้เขียนนัน้
-ฉันจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับสิ่งที่ฉันสนใจได้อย่างไร
-ฉันจะสามารถทำข้อมูลเนื้อหานี้ให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายต่อผู้อื่นได้อย่างไร
R = Review ทำการทบทวนทุก ๆ สิ่งที่ได้ศึกษาหรือค้นพบในการเรียน ทบทวนเทคนิคอะไรที่ช่วยให้การเรียนของเราประสบความสำเร็จนำเทคนิคนั้นมาใช้กับการเรียนในปัจจุบันของตนเอง

2)ข้าพเจ้าเคยนำเทคนิคการช่วยจำแบบ Acromyms (การนำเอาอักษรตัวแรกของคำแต่ละคำมารวมกันเป็นคำใหม่ขึ้นมา) มาใช้ในการสอบรายวิชาภาษาอังกฤษเมื่อเทอมที่ผ่านมา ข้าพเจ้าจำตัว Coordinating Conjunction ไม่ค่อยได้ แต่พอใช้เทคนิคนี้ทำให้จำได้ง่าย นั่นคือ “FANBOYS “
F = for
A = and
N =nor
B = boy
O = or
Y = yet
S = so
นอกจากทำให้จำตัว Coordinating Conjunction ได้แล้วยังช่วยให้นิสิตสามารถแยกประโยคที่มีคำเหล่านี้อยู่ว่าเป็นประโยคประเภท Compound Sentence ทำให้เรียนเข้าใจและทำข้อสอบได้ด้วย

3)ตอนนี้ข้าพเจ้ากำลังศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบ Backward Design และบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานระดับชั้น ม.2 ซึ่งปกติแค่แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design ก็ลำบากแล้วยังเพิ่มหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีก ข้าพเจ้าทำไม่ได้จึงเกิดความท้อแท้และเบื่อหน่าย แต่พอได้นำเทคนิคการทำงานของ Concentration (ความตั้งอกตั้งใจ) มาใช้แค่เพียงไม่กี่วันเท่านั้น งานการทำแผนของข้าพเจ้าเริ่มดำเนินรุดหน้าไปอย่างมาก ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยคิดว่าจะทำได้ถึงเพียงนี้ หลักการทำงานของ Concentration ที่ข้าพเจ้าได้นำมาปรับใช้มีดังนี้
-เลือกสถานที่ทำงานโดยปราศจากสิ่งรบกวนทุกชนิดรวมทั้งปิดเครื่องมือสื่อสารด้วย สถานที่เลือกคือห้องนอนของข้าพเจ้าเอง
-เลือกช่วงเวลาที่คิดว่าตนเองจะมีความกระตือลือล้นในการทำงานมากที่สุด โดยไม่มีเรื่องใด ๆ รบกวนนั้นคือช่วงเวลาตอนเย็นหลังเลิกงาน ประมาณ 18.00-21.00 น.
-ก่อนที่จะเริ่มทำงานจะทบทวนงานครั้งก่อนที่ได้ทำไว้เสียก่อน เพื่อเป็นการรื้อฟื้นหลักการและรูปแบบการทำ
-เวลานั่นทำงานไปนาน ๆ เกิดการเมื้อยล้าขึ้นมา ข้าพเจ้าก็จะพักชั่วคราวโดยการเดินไปข้างนอกสักพัก อาบน้ำให้สดชื่นหรือหาอะไรทาน เมื่อดีขึ้นแล้วก็จะกลับมานั่งทำงานใหม่อีกครั้ง
-มีบางครั้งที่คิดงานหัวข้อนี้ไม่ได้ เพื่อไม่ให้เสียเวลาทิ้งไปเปล่า ๆ ข้าพเจ้าก็จะข้ามหัวข้อนั้นไปก่อน แล้วไปทำหัวข้อถัดไปที่ทำได้แทน แล้วค่อยย้อนกลับมาทำหัวข้อนั้นทีหลัง
-บางครั้งหากเกิดข้อสงสัย ไม่สามารถหาคำตอบได้ด้วยตนเองก็จะสอบถามหรือปรึกษาผู้อื่น เช่น เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
-จะตั้งเป้าหมายในการทำงานแต่ละวัน เมื่อทำสำเร็จก็จะให้รางวัลกับตัวเอง เช่น การดูซีดีหนัง กินอาหารที่ชอบ เป็นต้น
-ในขณะที่ทำงาน บางครั้งก็จะเพลอคิดเรื่องอื่นไปบ้าง พอรู้ตัวก็จะรีบบอกตัวเองว่า “Be Here Now” เพื่อเรียกสมาธิตัวเองกลับมาทำงานต่อ
-ก่อนจะเริ่มทำงานหรือเมื่อทำงานเสร็จจะอ่านทบทวนงานทุกครั้ง เพื่อเป็นการทบทวนให้เข้าใจรูปแบบและเป็นการตรวจทานข้อผิดพลาดไปในตัวด้วย
นั่นคือรูปแบบเทคนิคการทำงานแบบ Concentration ที่ข้าพเจ้านำมาปรับใช้กับตัวเอง ข้าพเจ้าคาดหวังว่า การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ของข้าพเจ้าจะสำเร็จในเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน เพราะเทคนิคการทำงานแบบนี้ได้ช่วยเหลือข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก

4)จากการศึกษา Index study system เทคนิคเรียนแบบนี้นิสิตคิดว่าสามารถใช้กับการเรียนได้ทุกรายวิชาและทุกระดับชั้น ในแต่ละรายวิชาจะมีส่วนที่เป็นทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เทคนิคนี้จะเหมาะกับภาคทฤษฎี ความจำ ความเข้าใจมากกว่า เพราะเป็นเทคนิคที่ช่วยให้ทบทวนความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ(คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ พละศึกษา คอมพิวเตอร์ การงานอาชีพ ศิลปะ) ได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ในเวลาว่าง ๆ หรือระหว่างที่รอทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายก็คือ รายวิชาภาษาอังกฤษ เช่น โครงสร้าง Tenses / ชื่อ Tenses, รูป ภาพ / คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นต้น

โดย นางสาวนิตยา วุฒิยา