หลังจากที่ได้เรียนรายวิชา 162531 ทั้งการเรียนผ่านระบบ Maxlearn และการเรียนในห้องเรียนทำให้ได้ทั้งความรู้และฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีในการเรียนและการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซด์ต่าง ๆ ซึ่งการเรียนผ่านระบบ Maxlearn ได้ฝึกให้มีความรับผิดชอบ การทำงานกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ การอ่าน การแปลภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การพูดคุยผ่านเครือข่าย ซึ่งอาจใช้ในช่องทาง Talk std ระหว่างนิสิตด้วยกัน หรือ Talk Ajarn ระหว่างครูกับนิสิต เพื่อให้ได้สอบถามปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียน
รายวิชานี้ทำให้เราทราบถึงการเรียนผ่านเว็บนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้ง Web-based Learning, Online Learning, Blended-Learning, เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาทำให้รู้ถึงรูปแบบและวิธีการสร้าง WebQuest แบบต่าง ๆ ส่วนการเรียนในห้องเรียนนั้นได้ฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้าง Web Blog ของตนเอง การแก้ไขโดยโปรแ กรม Macro media Dreamweaver โปรแกรม Notepad โปรแกรม Hot Potatoes การสร้างบทเรียน WebQuest การ up load ข้อมูล ขึ้นเว็บ จากการเรียนทั้งหมดนี้สามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนได้ เช่น สามารถนำความรู้ที่ได้จากการสร้างบทเรียน WebQuest ไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน การสร้างแบบฝึกหัดจากโปรแกรม Hot Potatoes การทำ Web Blog เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลของตนและเพื่อน ๆ หรือนักเรียน ความรู้ที่ได้รับทั้งหมดนี้ช่วยให้พัฒนาตนเองไปสู่ผู้ที่ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้สื่อเทคโนโลยีในการศึกษาได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า จนสามารถพัฒนางานและนักเรียนของตนเองได้ การทำงานหลัก ๆ ของการเรียนในรายวิชานี้จำเป็นต้องรู้ถึงสิ่งดังต่อไปนี้
การ log in เข้าใช้งานระบบ Maxlearn จะเข้าไปที่ http://course.ku.ac.th การส่งงานเป็นไฟล์สามารถทำได้โดยการกดที่ปุ่ม attach file จากนั้นเลือก file งานที่ต้องการส่ง และกด attach ตรวจดูให้แน่นอนว่าได้โหลดไฟล์เข้าไปแล้วหรือยัง หากมีไฟล์ที่ต้องการส่งแล้วก็สามารถกด send ได้เลย ในการคุยโต้ตอบกับเพื่อน ๆ สามารถทำได้โดยการกดที่เมนู “talk std” เมื่อเข้าไปแล้วกดที่ปุ่ม new แล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการขึ้นบล็อกลงไปแล้วกด เพิ่ม ข้อควรรอสักครู่หน้าจอก็จะโชว์ข้อความที่เราได้ up load ลงไปให้เห็น ส่วนการพูดคุยกับอาจารย์ก็มีขั้นตอนเหมือนกันเพียงแต่กดเข้าไปที่เมนู “talk Ajarn” เมนูนี้มีสำหรับไว้สอบถามพูดคุยระหว่างอาจารย์กับนิสิต สิ่งที่ต้องระวังในการเข้าไปใน web board ก็คือ อันดับแรกต้องรีบแก้ไขระยะเวลาที่ต้องการให้โชว์เว็บบอร์ดหน้านั้น โดยกดที่ปุ่ม “Terference” เปลี่ยนจากเลข 7 วัน เป็น 99 วัน และสุดท้ายการเปิดหน้าต่าง เพื่อเรียกดูหรือใช้งานโดยไม่มีเมนูด้านซ้ายมือ ก็สามารถคลิ๊กได้ที่เมนูที่ต้องการเข้า เมื่อดูเสร็จแล้วก็กดปุ่มปิด หรือ(x) ได้เลย
วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
WebQuest Project
1. ผลงานที่ได้คือบทเรียน WebQuest สำหรับนักเรียนชั้น ป. 1 ชื่อกิจกรรม Happy Alphabet โดยนำมาจากหน่วยย่อยที่หนึ่งของหน่วยที่ชื่อว่า Fun English with Alphabet & Sound โดยใช้รูปแบบกิจกรรมแบบ Mystery Task เพื่อให้นักเรียนได้ค้นหาสิ่งที่ตนไม่รู้นั่นคือตัวอักษรภาษาอังกฤษ การทำงานจะเป็นงานกลุ่ม ซึ่งนักเรียนแต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้เป็นนักสำรวจจิ๋วเข้าไปสืบค้นหาชื่อและเสียงของตัวพยัญชนะ สระภาษาอังกฤษ การสะกดคำง่าย ๆ รูปภาพ คำศัพท์ที่สำพันธ์กับตัวพยัญชนะ จนกระทั่งสามารถเปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่างของตัวอักษรของภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้ โดยได้คัดเลือกเว็บไซด์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ป.1 ซึ่งค้นหาจากการที่ใส่ Key word เรื่องที่ต้องการให้นักเรียนศึกษาลงไปยังเว็บไซด์สืบค้นข้อมูลจากนั้นก็จัดกลุ่มแหล่งข้อมูลตามกิจกรรมย่อยที่จัดขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดทำใบงานและแบบฝึกหัดที่ทำจากโปรแกรม Hot Potatoes เพื่อทดสอบความรู้นักเรียนหลังจากที่ได้สืบคนมา
2. นำจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการสร้างบทเรียนเว็บเควสมารวมกับรูปแบบของกิจกรรมเว็บเควสที่เหมาะสมนั่นคือแบบ Mystery Task เพราะเห็นว่าในวัยนี้เด็กกำลังอยู่ในช่วงอยากรู้อยากเห็น และภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งใหม่ที่นักรียนยังไม่รู้จักและต้องการให้เด็กได้ใช้ทักษะการสืบค้นจากเว็บไซด์ต่าง ๆ ด้วย ในบทเรียนนี้นักเรียนจะได้ทั้งความรู้และทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อเลือกรูปแบบเว็บเควสแล้วลำดับต่อไปก็คือการสืบค้นและคัดสรรค์แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนและกิจกรรม ต่อมาก็กำหนด Process ขั้นตอนกิจกรรมซึ่งจะสัมพันธ์กับการกำหนดวิธีการวัดผลประเมินผลด้วยนอกจากนี้เมื่อพิจารณาเห็นแล้วว่าการศึกษาในเว็บไซด์อย่างเดียวคงไม่พอ จึงเพิ่มใบงานและแบบฝึกหัดที่ทำจากโปรแกรม Hot Potatoes เพื่อเป็นการฝึก ทบทวนและทดสอบผู้เรียนไปในตัวด้วย ในการจัดทำบทเรียนเว็บเควสนี้จะประสบความสำเร็จเลยไม่ได้หากไม่ได้มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล รายละเอียดของ Web-Based learning ตัวอย่างและวิธีการสร้างเว็บเควส ซึ่งทั้งหมดนี้ได้มาจากการร่วมกันสืบค้นและอภิปรายร่วมกันในการเรียนแบบออนไลน์ และยังได้ความรู้จากการฝึกฝนในห้องเรียน เรื่องการสร้างบทเรียนเว็บเควสจากโปรแกรม Macro Media Dreamweaver โปรแกรม Hot potatoes โปรแกรม Notepad และการ up load ไฟล์ขึ้นเว็บ pirun
2. นำจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการสร้างบทเรียนเว็บเควสมารวมกับรูปแบบของกิจกรรมเว็บเควสที่เหมาะสมนั่นคือแบบ Mystery Task เพราะเห็นว่าในวัยนี้เด็กกำลังอยู่ในช่วงอยากรู้อยากเห็น และภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งใหม่ที่นักรียนยังไม่รู้จักและต้องการให้เด็กได้ใช้ทักษะการสืบค้นจากเว็บไซด์ต่าง ๆ ด้วย ในบทเรียนนี้นักเรียนจะได้ทั้งความรู้และทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อเลือกรูปแบบเว็บเควสแล้วลำดับต่อไปก็คือการสืบค้นและคัดสรรค์แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนและกิจกรรม ต่อมาก็กำหนด Process ขั้นตอนกิจกรรมซึ่งจะสัมพันธ์กับการกำหนดวิธีการวัดผลประเมินผลด้วยนอกจากนี้เมื่อพิจารณาเห็นแล้วว่าการศึกษาในเว็บไซด์อย่างเดียวคงไม่พอ จึงเพิ่มใบงานและแบบฝึกหัดที่ทำจากโปรแกรม Hot Potatoes เพื่อเป็นการฝึก ทบทวนและทดสอบผู้เรียนไปในตัวด้วย ในการจัดทำบทเรียนเว็บเควสนี้จะประสบความสำเร็จเลยไม่ได้หากไม่ได้มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล รายละเอียดของ Web-Based learning ตัวอย่างและวิธีการสร้างเว็บเควส ซึ่งทั้งหมดนี้ได้มาจากการร่วมกันสืบค้นและอภิปรายร่วมกันในการเรียนแบบออนไลน์ และยังได้ความรู้จากการฝึกฝนในห้องเรียน เรื่องการสร้างบทเรียนเว็บเควสจากโปรแกรม Macro Media Dreamweaver โปรแกรม Hot potatoes โปรแกรม Notepad และการ up load ไฟล์ขึ้นเว็บ pirun
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)